หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25501531104922

ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration Program in Public

 Administration

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)

ชื่อย่อ : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Public Administration (Public Administration)

ชื่อย่อ : B.P.A. (Public Administration)

3. วิชาเอก ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

5.2 ประเภทหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

5.3 ภาษาที่ใช้

ภาษาไทย

5.4 การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัด

ปทุมธานี

5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

þ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

เริ่มใช้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

þ สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

เห็นชอบในการน าเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุม ครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 17

เดือนกันยายน พ.ศ. 2563

þ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีอนุมัติหลักสูตร

ในการประชุม ครั้งที่ 11/2563 เมื่อวันที่ 5 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

ระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558 ในปีการศึกษา 2566

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

หลักสูตรนี้ออกแบบเพื่อให้บัณฑิตสามารถท างานในสายงานบริหารและสายสนับสนุนของ

หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้

8.1 หน่วยงานภาครัฐ เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ พนักงาน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ บุคลากรองค์การมหาชน องค์กรไม่แสวงหากำไร

นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น

8.2 หน่วยงานภาคเอกชน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่

ธุรการ และผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชน

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรม เชี่ยวชาญการพัฒนางาน และเป็นนวัตกร กระบวนการ

ในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในโลกดิจิทัล

1.2 ความสำคัญ

จากสภาพการณ์ในปัจจุบันของสังคมทั้งในและต่างประเทศที่อยู่ในสภาพโลกาภิวัตน์และ

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ท าให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่าง

รวดเร็ว ทั้งทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทั้งหมดก็ได้ส่งผลต่อ

การบริหารงานภาครัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท าให้การบริหารงานภาครัฐต้องมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง

ในหลายประเด็น อาทิ ปรัชญาของการบริหารงานภาครัฐระบบของการบริหารงานภาครัฐ เป็นต้น

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนในรูปของการปฏิรูประบบราชการที่กระท ามา

อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้หรือแม้กระทั่งคุณลักษณะหน้าที่ของผู้บริหารงานภาครัฐที่ต้องเปลี่ยนไป

จากเดิม นอกจากนี้สภาพการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังกล่าว ยังได้ส่งผลให้เกิด

การเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันกับศาสตร์ทางด้านการบริหารงานภาครัฐท าให้เกิดการปรับปรุงพัฒนา

ตลอดจนสร้างแนวคิดในการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ขึ้นมา เช่น การน าแนวคิดจากภาคเอกชนมา

ปรับใช้ การท างานในลักษณะของร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private

Partnership) การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม (Civil Society) ทั้งนี้เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดสุดเกิด

ขึ้นกับประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี

ดังนั้น คณะกรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญ

ในหน้าที่การผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ว่าจะส่งผลอย่างมากต่อการบริหารงานภาครัฐ

และความเป็นอยู่ของสังคมโดยรวม จึงเล็งเห็นโอกาสอันดีที่จะปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร

บัณฑิต ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้มีคุณธรรมจริยธรรมรู้เท่าทันสภาพการณ์และสามารถ

ปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของสังคมได้

1.3 วัตถุประสงค์

1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม ความรู้และทักษะทางรัฐประศาสนศาสตร์

1.3.2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งใน

ระดับประเทศและในระดับท้องถิ่นในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนวัตกรกระบวนการ เพื่อการพัฒนางาน และหน่วยงาน

2. แผนปรับปรุง

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มีแผนพัฒนาปรับปรุงที่มี

รายละเอียดของแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ และตัวบ่งชี้การพัฒนาปรับปรุง โดยจะเน้นมุมมองจาก

ภายนอกที่มีต่อการด าเนินการของสาขาวิชา คุณภาพของนักศึกษาที่พัฒนาตนเองพึ่งตนเองได้คาดว่า

จะด าเนินการแล้วเสร็จภายใน 5 ปี นับจากเปิดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

1. ระบบการจัดการศึกษา

1.1 ระบบ

ระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ละภาคการศึกษา

ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ กรณีที่มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย

ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ

อนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และ (ฉบับที่ 3)

พ.ศ. 2562

1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

ไม่มี

1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

ไม่มี

2. การด าเนินการหลักสูตร

2.1 วัน-เวลาในการด าเนินการเรียนการสอน

ในเวลาราชการ เริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน - กันยายน

ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

2.2.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

2.2.2 เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัด

ปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2561 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562

2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า

นักศึกษามีทักษะภาษาอังกฤษต่ำกว่ามาตรฐาน

2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3

จัดรายวิชาการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้นักศึกษาทุกคนเรียนในชั้นปีที่ 1

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายคุกกี้ | ข้อตกลงการใช้งาน | มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล