หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25641531100020

ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Political Sciences Program in Political Sciences

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์)

ชื่อย่อ : ร.บ. (รัฐศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Political Sciences (Political Sciences)

ชื่อย่อ : B.Pol.Sc (Political Sciences)

3. วิชาเอก ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

5.2 ประเภทหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

5.3 ภาษาที่ใช้

ภาษาไทย

5.4 การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี

5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

þ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564

เริ่มใช้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

þ สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

เห็นชอบในการน าเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุม ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 19

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563

þ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีอนุมัติหลักสูตร

ในการประชุม ครั้งที่4/2563 เมื่อวันที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2563

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

การเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

แห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2566

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

 หลักสูตรได้ออกแบบไว้เพื่อให้บัณฑิตสามารถท างานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้

8.1 เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

8.2 เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปลัดอบต.)

8.3 เจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ)

8.4 นักพัฒนาชุมชน

8.5 ผู้ประกอบการทางสังคม

8.6 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

8.7 เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล

8.8 ข้าราชการทหาร ตำรวจ

8.9 องค์กรพัฒนาเอกชน

8.10 เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ

8.11 นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น

8.12 ประกอบอาชีพอิสระ

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา

หลักสูตรรัฐศาสตร์มุ่งผลิตบัณฑิตให้เกิดภาวะผู้น าแห่งการเปลี่ยนแปลง และมีคุณธรรม

จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงมีความสามารถในการท างานเชิงบูรณาการข้ามศาสตร์

เพื่อตอบสนองความต้องการจากรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคีเครือข่าย

1.2 ความสำคัญ

มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ทั่วประเทศไทยมีศักยภาพทางวิชาการระดับสูงและ

หลากหลายมีภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นผู้น าท้องถิ่นที่รอบรู้ทุกมิติของท้องถิ่น และได้ร่วมพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย

ราชภัฏจากทั่วประเทศ จึงเห็นถึงความสำคัญของภารกิจในการผลิตบัณฑิตเพื่อบุคลากรด้านการเมือง

และการจัดการปกครองท้องถิ่น (Politics and Local Goverance) และการพัฒนาและการแสวงหา

ความร่วมมือแบบภาคีสาธารณะ (Development and Public Goverance) ให้มีความสามารถเป็น

บัณฑิตสู่การเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลงอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป และมี

ความเหมาะสมกับบริบทในแต่ละพื้นที่ ให้แก่องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ที่จ าเป็นต้องใช้บุคลากร

สาขาวิชานี้เพิ่มขึ้น

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรพัฒนา ในปี พ.ศ. 2564 โดยหลักสูตรมุ่งเน้น

การบูรณาการศาสตร์ทางการเมือง การพัฒนาท้องถิ่น และการประสานความร่วมมือภาคีภิบาล เพื่อ

ยกระดับคุณวุฒิ คุณภาพ และคุณธรรมของคนในท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับพระราชปรารภและพระราช

ประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับ

ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง ตลอดจนถึงยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐทั้ง 8 ประเด็น การขอเสนอพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต จึงเป็นวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นน าเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในอุษาคเนย์ ที่มุ่งการผลิตบุคลากรด้านการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมมาโดยตลอด เพื่อเตรียม ความพร้อมให้เกิดนักรัฐศาสตร์รุ่นใหม่อันจะเป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติต่อไป

1.3 วัตถุประสงค์

1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตสู่การเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถบูรณาการศาสตร์และเทคนิควิทยาการสำหรับการปกครองและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ

1.3.2 เพื่อผลิตบัณฑิตสู่การท างานภาคประชาสังคมหรือผู้ประกอบการทางสังคม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

1.3.3 เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาพัฒนาท้องถิ่น สู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning)

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

1. ระบบการจัดการศึกษา

1.1 ระบบ

ระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ละภาคการศึกษา

ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ กรณีที่มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย

ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ

อนุปริญญาและปริญญาตรีพ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก)

1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

ไม่มี

1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

ไม่มี

2. การดำเนินการหลักสูตร

2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ในเวลาราชการ เริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน – กันยายน

ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

2.2.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

2.2.2 ผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

จังหวัดปทุมธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และแก้ไข

เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก)

2.2.3 ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

2.2.4 ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกภายใต้โครงการพิเศษต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า

2.3.1 การปรับตัวเข้าสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งแตกต่างจากการเรียนในระดับมัธยม

รวมถึงกลุ่มสังคมที่มีลักษณะแตกต่างจากเดิม

2.4 กลยุทธ์ในการด าเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจ ากัดของนักศึกษาในข้อ 2.3

2.4.1 จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

2.4.2 จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ เพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแลตักเตือนให้

คำแนะนำแก่นักศึกษาด้านการเรียน และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายคุกกี้ | ข้อตกลงการใช้งาน | มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล