หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลปศึกษา (4 ป) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25621531100028

ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Dance Education

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ครุศาสตรบัณฑิต (นาฏศิลป์ศึกษา)

ชื่อย่อ : ค.บ. (นาฏศิลป์ศึกษา)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Education (Dance Education)

ชื่อย่อ : B.Ed. (Dance Education)

3. วิชาเอก ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

5.2 ประเภทหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

5.3 ภาษาที่ใช

ภาษาไทย

 

5.4 การรับเขาศึกษา

รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาตางชาติที่สามารถใชภาษาไทยไดเปนอยางดี

5.5 ความรวมมือกับสถาบันอื่น

เปนหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ จังหวัดปทุมธานี

5.6 การใหปริญญาแกผูสำเร็จการศึกษา

ใหปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลปศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 ปรับปรุงมาจาก

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562

เริ่มใชหลักสูตรนี้ตั้งแตภาคการศึกษาที่ 1 ปการศึกษา 2566

 สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ จังหวัดปทุมธานีเห็นชอบให

นำเสนอหลักสูตรตอสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 18 เดือนสิงหาคม

พ.ศ. 2565

 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ จังหวัดปทุมธานีอนุมัติหลักสูตรในการ

ประชุม ครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 6 เดือน เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565

7. ความพรอมในการเผยแพรหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรจะไดรับการเผยแพรหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ

ปริญญาตรี สาขาครุศาสตร และสาขาศึกษาศาสตร (หลักสูตรสี่ป) พ.ศ. 2562 ในปการศึกษา 2568

8. อาชีพที่สามารถประกอบไดหลังสำเร็จการศึกษา

8.1 ครูผูสอนวิชานาฏศิลปในสถานศึกษาปฐมวัยขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ต่ำกวาปริญญา ทั้งของรัฐ

และเอกชน

8.2 นักแสดงทางดานนาฏศิลป

8.3 นักออกแบบการแสดง (Choreographer)

8.4 นักวิชาการอิสระทางดานนาฏศิลป

8.5 นักวิจัยอิสระทางดานนาฏศิลป์

 

ขอมูลเฉพาะของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงคของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา

ครูผูรอบรูในศาสตรนาฏศิลปอยางมีทักษะ ความคิดสรางสรรค บูรณาการและสานตอดวย

จรรยาบรรณวิชาชีพครู

1.2 ความสำคัญ

ศาสตรทางดานนาฏศิลปเปนศาสตรที่รักษารากเหงาของชาติ ศิลปะและวัฒนธรรม อันเปนศิลปะ

วิทยาการที่มุงพัฒนาความพรอมทางดานรางกาย อารมณ สติปญญา และสังคม พัฒนาครูใหมีภูมิความรูทั้ง

ศาสตรและศิลป โดยเชื่อมโยงกับทักษะการสรางความเปนครู การจัดการความรู การจัดการเรียนรูสูการ

สรางสรรคผลงาน และศาสตรการสอน เชื่อมโยงบูรณาการกับศาสตรตาง ๆ ที่สงผลตอการพัฒนาประเทศ

ตลอดจนเรียนรู เขาใจวัฒนธรรมของผูอื่น และดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 อยางมีคุณภาพ

ดังนั้นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ จังหวัดปทุมธานี มุงผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี

สายวิชาชีพครูเพราะอาชีพครูถือวาสำคัญยิ่ง ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศใหเจริญมั่นคง ให

กาวทันตอสถานการณการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปจจุบัน โดยสาขาจะมุงเนนศาสตรและศิลปทางการ

แสดงทั้ง 3 องคความรูหลัก คือ นาฏศิลปไทย นาฏศิลปสากล และการละคร มีจุดเดนที่แตกตางจาก

หลักสูตรของมหาวิทยาลัยและสถาบันตาง ๆ ที่มุงเนนทางดานนาฏศิลปไทยเพียงอยางเดียว ซึ่งไมตอบ

โจทยความตองการของการศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่มุงเนนใหนักเรียนไดเรียนรูใน

ศาสตรทางดานนาฏศิลปที่หลากหลาย ในการนี้สาขาวิชาจึงมีการวางพื้นฐานของหลักสูตรที่มีความ

เชี่ยวชาญทั้งทางดานการจัดการเรียนการสอน และดานทักษะทางนาฏศิลปทั้ง 3 องคความรู เพื่อให

สามารถผลิตบัณฑิตไดตรงตามความตองการของตลาดแรงงาน และกระแสสังคมที่มีการแขงขันขีด

ความสามารถ รวมทั้งศักยภาพของโรงเรียน คุณครู นักเรียน ทั้งในโลกดิจิทัลและออนไลน รวมทั้งมี

กระบวนการออกแบบสรางสรรคนวัตกรรมและพัฒนาการศึกษาทางดานนาฏศิลปไดอยางถูกตอง และเปน

รูปธรรม

1.3 วัตถุประสงค

1.3.1 มีความรูรอบรูในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีในศาสตรทางดานนาฏศิลปและวิชาชีพครู

1.3.2 มีความคิดริเริ่มสรางสรรคในการจัดการเรียนรู การวิจัย มีทักษะวิเคราะหสามารถบูรณาการ

และประยุกตใชสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสรางนวัตกรรมและประกอบอาชีพ

1.3.3 มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรณยาบรรณในวิชาชีพ มีความเปนผูนำทางการศึกษา มี

จิตสำนึกและความรับผิดชอบในการทำงานเพื่อสังคม

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

1. ระบบการจัดการศึกษา

1.1 ระบบ

ระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ละภาคการศึกษาไม่น้อย กว่า 15 สัปดาห์ กรณีที่มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 (ภาคผนวก ก)

1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

ไม่มี

1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

ไม่มี

2. การดำเนินการหลักสูตร

2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

 ในเวลาราชการ เริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน – มีนาคม

2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

 2.2.1 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีค่านิยมเจต คติที่ดีและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู สอบผ่านข้อสอบวัดคุณลักษณะความเป็นครู และผ่าน เกณฑ์ของส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกซึ่ง สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนด

2.2.2 การเทียบโอนผลการเรียนรู้ในสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาในสถาบันและระหว่างสถาบัน สามารถกระท าได้ โดยให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ และข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาตามประกาศ/ข้อบังคับ/ ระเบียบที่เกี่ยวข้องของ กระทรวงศึกษาธิการหรือตามข้อบังคับของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา

2.2.3 สามารถปฏิบัติทักษะนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์สากล และการละครได้

2.2.4 ผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 (ภาคผนวก ก)

2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า

ไม่มี

 2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา / ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3

ไม่มี

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายคุกกี้ | ข้อตกลงการใช้งาน | มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล