หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25471531101756

ภาษาไทย : หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Laws

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : นิติศาสตรบัณฑิต

ชื่อย่อ : น.บ.

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Laws

ชื่อย่อ : LL.B.

3. วิชาเอก ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 134 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ

เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

5.2 ประเภทหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

5.3 ภาษาที่ใช้

ภาษาไทย

5.4 การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี

5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

เริ่มใช้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

 สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

เห็นชอบในการน าเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุม ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่

16 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563

 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีอนุมัติหลักสูตร

ในการประชุม ครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 6 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ

ปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561 ในปีการศึกษา 2566

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

 8.1 ผู้พิพากษา และตุลาการ

8.2 พนักงานอัยการ

8.3 ทนายความ

8.4 ตำรวจ

8.5 นิติกร

8.6 อาจารย์ และนักวิชาการด้านกฎหมาย

8.7 ที่ปรึกษากฎหมายในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

8.8 รับราชการ

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมุ่งผลิตบุคลากรทางนิติศาสตร์ให้มีความรู้และทักษะทางกฎหมาย

ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ รวมทั้งน าความรู้และทักษะทางกฎหมายไปปรับ

ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นและสังคม

1.2 ความสำคัญ

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ทางกฎหมาย

ที่สามารถประยุกต์น าความรู้ทางกฎหมายไปใช้ในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายได้จริง ในบริบท

และสังคมที่แตกต่างกัน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive Learning) ที่มุ่งให้ผู้เรียน

ตีความ คิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ สร้างผลงาน จากองค์ความรู้ในรายวิชาต่าง ๆ โดยอาศัยรูปแบบ

การเรียนที่หลากหลาย เช่น ให้นักศึกษาลงพื้นที่เรียนรู้ปัญหาร่วมกับชุมชน ให้ความรู้บริการวิชาการ

ทางกฎหมายและให้ค าปรึกษากฎหมายแก่ ชุมชน ท้องถิ่น

1.3 วัตถุประสงค์

1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและส านึกรับใช้สังคมส่วนรวมด้วยจิตสาธารณะ

และความรับผิดชอบ

1.3.2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางกฎหมายอย่างเหมาะสม สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างสอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพกฎหมาย

1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนักกฎหมายที่มีความสามารถในการแสวงหาและค้นคว้าความรู้

เพื่อนนำมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสังคมได้

 

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

1. ระบบการจัดการศึกษา

1.1 ระบบ

ระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ละภาคการศึกษา

ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ กรณีที่มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย

ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ

อนุปริญญาและปริญญาตรีพ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก)

1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

ไม่มี

1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

ไม่มี

2. การดำเนินการหลักสูตร

2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ในเวลาราชการ เริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน – กันยายน

ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

2.2.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

2.2.2 ผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม

ราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557

และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก)

2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า

ไม่มี

2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3

ไม่มี

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายคุกกี้ | ข้อตกลงการใช้งาน | มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล