หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2566
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร 25491531106372
ชื่อหลักสูตร (ไทย)
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (4 ปี)
ชื่อหลักสูตร (อังกฤษ) Bachelor
of Education Program in Social Studies
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) ครุศาสตรบัณฑิต
(สังคมศึกษา)
ชื่อย่อ (ไทย) ค.บ. (สังคมศึกษา)
ชื่อเต็ม(อังกฤษ) Bachelor
of Education (Social Studies)
ชื่อย่อ(อังกฤษ) B.Ed.
(Social Studies)
3. วิชาเอก ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า
142 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี
หลักสูตร 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
5.3 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยหรือนักศึกษาต่างประเทศที่มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยองกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัด
ปทุมธานี
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสังคมศึกษาเพียงสาขาวิชาเดียว
6.
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสังคมศึกษา (4 ปี) พ.ศ. 2566 ปรับปรุงจากหลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
เริ่มใช้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่
1 ปีการศึกษา 2566
สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
เห็น ช อบให้น า เ สน อห ลั กสู ต ร ต่
อ สภ า ม ห า วิท ย า ลั ย ใน ก า รป ร ะชุ ม ค รั้งที่ 8/ 2 5 6 5
เมื่อวันที่ 18 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี อนุมัติหลักสูตร
ในการประชุม ครั้งที่ 10/ 2565
เมื่อวันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2565
7.
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
ปริญญาตรี
สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562 ในปีการศึกษา 2568
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1
ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัยขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้ง
ของรัฐและเอกชน
8.2 นักวิชาการด้านการศึกษา
8.3
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
8.4 พนักงานในบริษัท
8.5 ธุรกิจส่วนตัวด้านการศึกษา
8.6 นักพัฒนาชุมชนทางการศึกษา
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.1 ปรัชญา
ผลิตครูวิชาชีพชั้นสูงที่มีปรีชาสามารถดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
สามารถบูรณาการความรู้
ทักษะ เจตคติ คุณธรรม
และจริยธรรมแห่งวิชาชีพไปสู่การจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคน
ดี มีสติปัญญา ความสามารถ
และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข
1.2 ความสำคัญ
สารัตถะความรู้กลุ่มสาขาวิชาสังคมศึกษา
ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ด้านปรัชญา ความ
เชื่อ ศาสนา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
สิ่งแวดล้อม ประชากร รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยา ตลอดถึงเศรษฐศาสตร์
ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมทั้งส่วนภูมิภาค และ
สังคมโลก
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้น
ผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา
โดย (1)
การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้
เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
(2) การเปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ (3)
การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ
ทุกประเภท (4) การพัฒนาระบบการ
เรียนรู้ตลอดชีวิต (5)
การสร้างความตื่นตัวให้คนไทยตระหนักถึงบทบาท ความรับผิดชอบ และการ
วางตำแหน่งของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และประชาคมโลก
(6)
การวางพื้นฐานระบบ
รองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม
และ (7)
การสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ
ดังนั้น
ครูผู้สอนสังคมศึกษานับว่าสำคัญยิ่ง เพราะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง
ให้ก้าวทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน เพื่อการพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
โดยพัฒนาให้คนไทยมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่
ทั้งทักษะในด้านความรู้ทักษะทางพฤติกรรม และคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม
เตรียมพร้อมกำลังคนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ภาคการผลิตและบริการเป้าหมายที่มีศักยภาพและผลิตภาพสูงขึ้น
รวมทั้งพัฒนาหลักประกันและ
ความคุ้มครองทางสังคมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงในชีวิต
1.3 วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.3.1
เพื่อผลิตครูในมิติใหม่ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เป็นบัณฑิตครูที่มีคุณภาพ
รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม ทั้งระดับภูมิภาค
ระดับโลก
1.3.2
เพื่อผลิตครูให้มีศักดิ์ศรีความเป็นครู มีการพัฒนาวิชาชีพครูสม่ำเสมอ
มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนเต็มศักยภาพ และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
1.3.3
เพื่อผลิตครูวิชาชีพชั้นสูงที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี
คนเก่ง เป็นครูดี ครูเก่งทั้งสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
1.3.4 เพื่อผลิตครูที่มีความรู้ เจตคติ
คุณธรรมและเป็นผู้มีจริยธรรมแห่งวิชาชีพ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบการจัดการศึกษา
การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
1. ระบบการจัดการศึกษา
1.1 ระบบ
ระบบทวิภาค
โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ละภาคการศึกษา
ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
กรณีที่มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย
ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ
อนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.
2562 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564
(ภาคผนวก ก)
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนโดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
ไม่น้อยกว่า 8
สัปดาห์ ทั้งนี้ ไม่เป็นการบังคับ
และให้เป็นไปตามประกาศที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ก
าหนด
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน–เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ในเวลาราชการ
เริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน –
ตุลาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน –
มีนาคม
ทั้งนี้ กำหนดการเปิด-ปิด ภาคการศึกษาให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูประถัมภ์จังหวัดปทุมธานี
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
2.2.1 ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
มีค่านิยมเจตคติที่ดีและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพครูสอบผ่านข้อสอบวัดคุณลักษณะความ
เป็นครูและผ่านเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือ
เป็นไปตามระเบียบ
ข้อบังคับการคัดเลือกซึ่งสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนด
2.2.2
ผู้เข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี
2.2.3
ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบตามที่คณะกำหนด
2.2.4
ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการคัดเลือกตามประกาศหลักเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือก
บุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี หรือ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2.2.5 มีความประพฤติดีมีภาวะผู้นำ
และจิตอาสา
2.2.6 มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู
2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
2.3.1
การปรับตัวในการเรียนระบบอุดมศึกษาซึ่งเป็นระบบเน้นการเรียนรู้และควบคุมตนเอง
2.3.2
การมีบุคลิกภาพที่ยังไม่เหมาะสมกับการเป็นครู
2.3.3
นักศึกษาแรกเข้ามีพื้นฐานความรู้ในระดับที่แตกต่างกัน
2.3.4 นักศึกษามีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
ปัญหาสุขภาพ และปัญหาทักษะทางสังคม
2.4 กลยุทธ์ในการด
าเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจ ากัดของนักศึกษาในข้อ 2.3
2.4.1
จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย คณะและสาขาวิชาจัดประชุม
ผู้ปกครองจัดระบบการปรึกษาแนะแนว
โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาและฝ่ายกิจการนักศึกษาดูแล
ประสานงานกับคณาจารย์ผู้สอนและผู้ปกครองในกรณีที่มีปัญหา
กิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา-นักศึกษา-อาจารย์
และ/หรือนักศึกษา–อาจารย์-ผู้ปกครอง
2.4.2
จัดกิจกรรมการพัฒนาบุคลิกภาพและปลูกฝังจิตวิญญาณของครูมืออาชีพ
2.4.3
จัดกิจกรรมปรับพื้นฐานและแนะแนวทางการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา
2.4.4
จัดแหล่งทุนทางการศึกษาเพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นเป็นรายกรณี
2.4.5 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ พัฒนาบุคลิกภาพ และจิตตปัญญาศึกษา