หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25471531102173
ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor
of Arts Program in English
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต
(ภาษาอังกฤษ)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษ)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor
of Arts (English)
ชื่อย่อ : B.A.
(English)
3. วิชาเอก ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า
127 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี
หลักสูตร 4 ปี
5.2 ประเภทหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
þ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
เริ่มใช้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่
1 ปีการศึกษา 2565
þสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
เห็นชอบให้นำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุม
ครั้งที่ 2/2564
เมื่อวันที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.
2564
þสภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี อนุมัติหลักสูตร
ในการประชุม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔
7.
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ.
2560 ในปีการศึกษา 2567
8.
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1 พนักงานสายการบิน
8.2 นักแปลภาษาอังกฤษ
8.3 พนักงานโรงแรม
8.4 มัคคุเทศก์
8.5 พนักงาน /
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ใช้ภาษาอังกฤษ
8.6 รับราชการ
8.7 อาชีพอิสระ
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
1. ปรัชญา ความสำคัญ
และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.1 ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระดับสากล
เข้าใจความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม
มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพได้
1.2 ความสำคัญ
1.2.1 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
การสื่อสาร และการคมนาคม ทำให้โลกไร้พรมแดน
มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น
อุปสรรคทางภาษาจึงทำให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญในฐานะที่เป็นภาษากลางในการสื่อสาร
1.2.2 กฎบัตรอาเซียนข้อที่ 34
ประกาศให้ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียนคือภาษาอังกฤษ
ทำให้ภาษาอังกฤษทวีความสำคัญมากขึ้นในภูมิภาคนี้ รวมถึงประเทศไทย
1.3 วัตถุประสงค์
1.3.1
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
ยอมรับและเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในโลกยุคปัจจุบัน
1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตสามารถบูรณาการความรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ
วรรณคดี ภาษาศาสตร์ และการแปล ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะทางปัญญา
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพได้
1.3.4
เพื่อให้บัณฑิตสามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3.5
เพื่อให้บัณฑิตสามารถใช้ภาษาอังกฤษควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
และนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
ระบบการจัดการศึกษา
การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
1. ระบบการจัดการศึกษา
1.1 ระบบ
ระบบทวิภาค
โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ
แต่ละภาคการศึกษา
ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ กรณีที่มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย
ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษา
ระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2562 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 (ภาคผนวก
ก)
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ไม่มี
1.3
การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ในเวลาราชการ
เริ่มเปิดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1
ปีการศึกษา 2565
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
2.2.1
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2.2.2
ผ่านการคัดเลือกตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดปทุมธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี
พ.ศ. 2557 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2561 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 (ภาคผนวก
ก)
2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
2.3.1
นักศึกษาไทยมีปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทั้ง 4
ทักษะ คือ การฟัง
การพูด การอ่าน และการเขียน
2.3.2
นักศึกษาต่างประเทศที่สมัครเข้าเรียนมีความรู้พื้นฐานการเรียนต่อ สำหรับการเรียน
ในหลักสูตรไม่เพียงพอ
รวมทั้งมีปัญหาทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.4
กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา / ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3
2.4.1
จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมและปรับพื้นฐานเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
ให้นักศึกษาใหม่ทุกคน
2.4.2
จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมและปรับพื้นฐานทักษะภาษาไทยให้นักศึกษาต่างชาติ
2.4.3 สนับสนุน ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น