ประวัติคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประวัติความเป็นมาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เริ่มตั้งขึ้นเป็นคณะวิชา
เนื่องจากพระราชบัญญัติ วิทยาลัยครู 2518 ปรับสถานภาพของวิทยาลัยครูเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางของท้องถิ่น ผลิตเฉพาะวิชาชีพครู ในปีการศึกษา 2519
โดยเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี มี หลักสูตรดังนี้
1.
ภาควิชาภาษาไทย
2.
ภาควิชาภูมิศาสตร์
3.
ภาควิชาประวัติศาสตร์
4.
ภาควิชาภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศ
5.
ภาควิชาสังคมวิทยา
6.
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
7.
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
8.
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
9. ภาควิชาศิลปศึกษา
10.
ภาควิชานาฏศิลป์
11. ภาควิชาดนตรี
ในระยะ พ.ศ. 2519 - 2527
ผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์ทั้งหมดจนกระทั่ง พ.ศ. 2527 จึงเริ่มผลิตบัณฑิต
สายศิลปศาสตร์ด้วย พ.ศ. 2538 ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ มาตรา 10 กำหนดให้
คณะเป็นส่วนราชการ มีฐานะเทียบเท่ากอง หมายถึง
หน่วยงานในสถาบันที่ปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่หลักของสถาบัน กล่าวได้ว่า คณะ
เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันฯ และเมื่อปี พ.ศ. 2543
ได้เปิดสอนหลักสูตรต่อไปนี้
1. โปรแกรมวิชาภาษาไทย (ค.บ. และ
ศศ.บ.)
2. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ (ศศ.บ.)
3.
โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ (ศศ.บ.(ศูนย์ กทม.)
4.
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (ศศ.บ.)
5.
โปรแกรมวิชาศิลปกรรม (ศศ.บ.)
6.
โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (ศศ.บ.)
7.
โปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน (ศศบ.)
8.
โปรแกรมวิชาดนตรีศึกษา (ค.บ.)
9.
โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละคร (อ.ศศ.)
10.
โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา (ค.บ.)
11.
โปรแกรมวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ (อ.ศศ. (กศ.ปช.)
พ.ศ. 2545 สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อมาใน ปี
พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นส่วนราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดปทุมธานี มีฐานะเทียบเท่ากอง ได้พยายามยกมาตรฐานทางการศึกษา
ส่งเสริมศักยภาพของบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศ
ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลายเพื่อรองรับความต้องการของผู้ศึกษาและตลาดแรงงาน
ขณะนี้ได้เปิดสอนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มีสาขาวิชาดังนี้
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่
1. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน (ศศ.บ.)
2. สาขาวิชาจิตวิทยา
(ศศ.บ.)
3. สาขาวิชาดนตรีสากล
(ศศ.บ.)
4. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร
(ศศ.บ.)
5. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
(ศศ.บ.)
6. สาขาวิชาศิลปะการแสดง
(ศศ.บ.)
7.
สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา (ศศ.บ.)
8. สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
(ศศ.บ.)
9. สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ
(ศศ.บ.)
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่
10. สาขาวิชาทัศนศิลป์
(ศป.บ.)
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่
11. สาขาวิชานิติศาสตร์
(น.บ.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่
12. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
(รป.บ.)
นอกเหนือจากพันธกิจด้านการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิตที่มีความรู้
ควบคู่กับการพัฒนาสังคม บนพื้นฐานความเป็นไทยและการก้าวไปของสังคมโลกแล้ว
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยังมีพันธกิจในการเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ รวบรวม
และถ่ายทอดความรู้
สนับสนุนเผยแพร่ผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
และภูมิปัญญาสากล ตลอดจนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ
ด้านการเสริมสร้างพลังความสามารถและศักยภาพของนักศึกษานั้นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สนับสนุนให้นักศึกษาได้มีโอกาสแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ด้วยการ บูรณาการ ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากลตามความสนใจ และความถนัดของแต่ละบุคคล
โดยจัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการศิลปกรรม
ห้องปฏิบัติการดนตรีไทย ห้องปฏิบัติการดนตรีสากล ห้องวิทยาการ ทางภาษา
ห้องปฏิบัติการศิลปะการแสดง ห้องปฏิบัติการศาลจำลอง ห้องอเนกทัศน์
อาคารกิจกรรมนักศึกษาและลานวัฒนธรรม เพื่อให้นักศึกษาของทุกหลักสูตรใช้ฝึกปฏิบัติตามสาขาวิชาของตนเอง
ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมาย นโยบาย
และวัตถุประสงค์
ปรัชญา
คุณธรรมนำความคิด
บัณฑิตรู้รอบ มอบสุขให้สังคม บ่มเพาะจิตอาสา ก้าวหน้าเทคโนโลยี
ปณิธาน
เป็นผู้นำทางวิชาการในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
เป้าหมาย
1.
สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ
2. ให้บริการวิชาการได้ตามความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น
มีผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับชาติและนานาชาติ
3.
สร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
4.
เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
นโยบาย
1.
แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย
มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน
เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
3. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
4. เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน
ผู้นำศาสนา และนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย มีคุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
5. ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย
ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
6. ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น
7. ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของคณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพให้ได้มาตรฐาน
เป็นที่ต้องการของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ
2.
ให้บริการวิชาการได้ตามความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และมีผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับชาติและนานาชาติ
3. สร้างสรรค์ผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
4. เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลในการบริหารงาน
ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้